Wednesday, May 6, 2009

เดินหน้าหาทาง Do What You Can, Where You Canย้อน

หลังกลับไปในปี 2531 การจะเป็นนักดนตรีคลาสสิก อาชีพเป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก ยิ่งถ้าพูดว่าจะเป็นวาทยกร คนเขายังไม่รู้เลยว่าอาชีพนี้ทำอะไร อย่าว่าแต่การก้าว ขึ้นไปเป็นวาทยกรมืออาชีพระดับนานาชาติ ยิ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน การศึกษาในเมืองไทยทางด้านนี้ ก็ไม่มีระบบจริงจัง
ผมจะทำอย่างไรดีนะ
สิ่งแรกที่ผมทำคือ ค้นห้องสมุดที่ผมรู้จักทุกที่
ส่วนใหญ่แล้วจะมีก็ที่ห้องสมุดของเอยูเอ บริติชเคาน์ซิล
สถาบันเกอเต้ และเอแบค ผมหาหนังสือเกี่ยวกับการเป็น
วาทยกรทุกเล่ม ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ แต่ส่วนใหญ่ต้องเป็น
ภาษาอังกฤษ เพราะบ้านเรายังไม่มีหนังสือทางด้านนี้
ส่วนที่ผมสนใจมากคือ ชีวประวัติของวาทยกรที่ยิ่งใหญ่
ของโลกแต่ละคน
แต่เราควรจะสนใจในเรื่องใดล่ะ
ผมคิดอย่างนี้ว่า ผมจะต้องค้นให้ได้ว่าวาทยกรของโลก
ต้องมีคุณสมบัติอะไรกันบ้าง และคุณสมบัติเหล่านั้น
ผมพอที่จะพัฒนามันขึ้นมาได้ไหม แล้วก็ค่อยๆ ฝึกฝนไป
แต่ละกระบวนท่า
นับตั้งแต่ โสตประสาทที่ดี ความเป็นผู้นำ ประวัติศาสตร์
ดนตรี การรู้จักเครื่องดนตรีทุกชนิดในวง การเล่นเครื่อง
ดนตรีสักหนึ่งหรือสองชิ้นให้ได้ดี โดยเฉพาะเปียโน
เทคนิคการใช้ไม้บาตอง ประสบการณ์การทำงานกับวง
ความชำนาญภาษาต่างประเทศก็เป็นสิ่งที่สำคัญ
วาทยกรนอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ควรรู้ภาษาของยุโรป
ที่สำคัญ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน และอิตาเลียน
ที่ผมคล่องหน่อยก็อิตาเลียนเท่านั้น
ฝรั่งเศสกับเยอรมันฟังออก แต่พูดไม่ค่อยเก่ง
ข้อคิดก็คือ...ถ้าคุณมองไม่เห็นทาง
ก็เดินหน้าลองผิดลองถูกไปสักพัก
แต่ที่สำคัญขอให้เริ่มทำ
ทำอะไรที่ทำได้ไปก่อน ขอให้เดินหน้าไปก่อน บางที่เราอาจ
จะไม่เห็นทางทั้งหมด ไม่เป็นไร ขอให้ทุกวันได้พัฒนาตัวเอง
ให้ใกล้กับเป้าหมายมากขึ้น
และเป็นเรื่องแปลกของโลกนี้ ทุกครั้งที่มนุษย์มีเป้าหมาย
ที่ชัดเจน แม้หนทางจะไม่ชัดเจนนัก เมื่อเดินไปเรื่อย ๆ
มุ่งหน้าไป หนทางและโอกาสต่างๆ ก็จะเปิดตัวขึ้นเอง
พวกเราคนไทยต้องรู้จักหนังสือพระมหาชนก พระราชนิพนธ์
ของในหลวง ซึ่งเป็นเรื่องของความเพียร ตอนซึ่งสำคัญที่สุด
คือตอนที่พระมหาชนกเรืออับปางต้องลอยคออยู่กลางทะเล
ท่านก็ว่ายน้ำไปเรื่อยๆ 7 วัน 7 คืน จนนางมณีเมขลา
เทพธิดาผู้รักษามหาสมุทรลงมาถามว่า “ทั้งๆ ที่มองไม่เห็นฝั่ง
จะทนว่ายไปทำไมกัน” พระมหาชนกทรงตอบสรุปความ
ได้ว่า “ความเพียรย่อมมีประโยชน์ แม้จะมองไม่เห็นฝั่ง
เราก็จะว่ายไปจนกว่าจะถึงฝั่งเข้าสักวันหนึ่ง บุคคลควร
ตั้งความเพียรพยายาม แม้การนั้นอาจไม่สำเร็จก็ตาม
เพราะเรามีความพยายาม ไม่ละความตั้งใจ เราจึงยังมีชีวิต
อยู่ได้” นางมณีเมขลาได้ยินดังนั้น ก็เอ่ยสรรเสริญความเพียร
ของพระมหาชนกกุมาร และช่วยอุ้มพาพระมหาชนกกุมาร
ไปจนถึงฝั่งเมือง ซึ่งก็เหมือนกับโอกาสต่างๆ ที่เปิดเผยตัวเองขึ้นมา
เมื่อเราได้เพียรพยายามหาทางวันแล้ววันเล่า
Do What You Can, Where You Can.
----------
กล่องความคิด
จากประสบการณ์การต่อสู้ของผมและการทำงานในหลายๆ ประเทศทำให้ได้เข้าใจว่า คนที่มาจากประเทศที่กำลังพัฒนา จะไป “มีผลงาน” สู้กับคนในสายอาชีพเดียวกัน
ในประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น เป็นเรื่องที่ยากเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว
สังเกตนะครับว่า ผมใช้คำว่า “มีผลงาน”
ไม่ใช่คำว่า “ความสามารถ”
“ความสามารถ” ผมเชื่อว่าคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก
ผมเห็นมากับตาแล้ว แต่ทำไมผมถึงบอกว่ายากที่จะไป “มีผลงาน” ทัดเทียมกับเขาได้
เหตุผลหนึ่ง เพราะบ้านเราระบบการส่งเสริมคนมีพรสวรรค์ยังสู้ประเทศโลกที่หนึ่งไม่ได้ เด็กที่มีพรสวรรค์โดดเด่นก็ไม่ได้รับโอกาสพัฒนา ไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร ในที่สุดก็ไม่ได้เติบโต
โปรแกรมของรัฐบาลจีนที่ส่งเสริมนักกีฬาของเขาอย่างเข้มงวด ทำให้นักกีฬาพัฒนา ศักยภาพได้อย่างเต็มที่ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักกีฬาจีนสู้กับทั่วโลกได้ในกีฬาโอลิมปิก
รัฐบาลฟินแลนด์มีโปรแกรมการส่งเสริมนักดนตรีและศิลปินของเขาให้โอกาสคนเก่ง จนตอนนี้นักดนตรีคลาสสิกและศิลปินชาวฟินแลนด์ “บุกโลก” แล้ว
ผมเชื่อว่า ถ้าไทเกอร์ วูดส์ไม่ได้ไปเกิดและเติบโตพัฒนาฝีมือในประเทศสหรัฐอเมริกา เขาก็อาจไม่ได้ประสบความสำเร็จขนาดนี้ก็เป็นได้ อาจจะโดนปัดแข้งปัดขาตกลงมา ก่อนที่จะมีโอกาสขึ้นไป
ข้อคิด : ที่ผมพูดจุดนี้ ไม่ใช้จะให้หมด กำลังใจ ว่ามาจากประเทศเล็ก จะสู้เขาไม่ได้ แต่อยากให้ตระหนักไว้ เพราะถ้าจะ “ออกรบ” คุณต้องรู้เขารู้เรารู้ อุปสรรคที่ขวางเราอยู่
บัณฑิต อึ้งรังษี

No comments:

Post a Comment